วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Graphic knowledge

บทบาทและความสำคัญของงานกราฟิก
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม จึงทำให้เกิดการสื่อสารเกิดขึ้นทั้งการพูด การแสดงท่าทาง หรือการเขียนต่างๆ ซึ่งงานกราฟิกก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งการสื่อสารโดยใช้กราฟิกทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆ เช่น
1.                                    ความก้าวหน้าทางวิชาการ : การสื่อสารทำให้มนุษย์ได้รู้จักการคิดวิเคราะห์ จากประสบการณ์ต่างๆ ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิชาความรู้ ในการค้นพบความรู้ใหม่ๆ และงานกราฟิกยังช่วยให้ผู้คนสื่อสารกันได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการใช้งานกราฟิกในการสอนต่างๆนั่นเอง
2.                                    ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี : การใช้งานกราฟิกทำให้มนุษย์รู้จักคิดค้นประดิษฐ์สิ่งต่างๆ มากขึ้น สังเกตได้จากยุคแรกๆที่ใช้ในการเขียนการวาดในการสื่อสาร และต่อมาได้เกิดกระดิษฐ์อักษรขึ้น และทำให้เกิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
3.                                    การสื่อสารอย่างไร้พรมแดน : การติดต่อกันที่สะดวกขึ้นทำให้มนุษย์สื่อสารกันง่ายขึ้น สามารถส่งข่าวสารต่างๆได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศและการพัฒนาในสิ่งต่างๆ เกิดการแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
4.                                    ความแตกต่างระหว่างบุคคล : การสื่อสารและการเข้าใจกันที่ง่ายขึ้นทำให้ เกิดความแตกต่างทางด้านความคิดกันง่ายขึ้น และทำให้เกิดความแตกต่างทางด้านบุคคลมากยิ่งขึ้น



ประวัติความเป็นมาของกราฟิก
งานกราฟิกมีประวัติความเป็นมาตั่งแต่สมัยอตีด เริ่มจากการที่มนุษย์รู้จักการขูดเขียน ระบาย ทำให้เกิดรอย และก่อเกิดวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งงานกราฟิกยังสามารถแบ่งได้เป็นช่วงเวลาต่างๆ ได้ดังนี้
1.                                   
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีการเขียนภาพ     pictogram     เป็นการวาดภาพ  เช่น การวาดภาพคน สัตว์ ต้นไม้ ไว้บนฝาผนังในถ้ำ การแกะสลักลงบนกระดูกสัตว์

2.                                   
ยุค 9000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชาวSumerien ในแคว้นเมโซโปรเตเมีย ได้คิดค้นอักษร รูปลิ่ม (Cuneiform) และตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์
3.                                    ในยุคค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้คิดประดิษฐ์ เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียนซึ่งสามารถพิมพ์ได้มากมากขึ้นจึงทำให้งานกราฟิกได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น
4.                                    ปี ค.ศ. 1950 ได้เกิด Typographical Style เป็นการนำนำการจัดวางตัวอักษรและภาพเป็นคอลัมภ์ มีการใช้ตารางเพื่อให้เกิดความสวยงาม มีการจัดแถวชิดชอบกระดาษ
5.                                   
ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 งานกราฟิกได้ขยายขอบเขตออกไปรวมถึง การถ่ายภาพ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ การโฆษณา และได้ก้าวเข้าสู่ในยุค อิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการประยุกต์ประดิษฐ์การใช้โปรแกรมต่างๆกับคอมพิวเตอร์ (Computer Graphic) เช่น Microsoft Word  และยังได้มีการพัฒนาขึ้นในโปรแกรมต่างๆ เช่น Adobe Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw ซึ่งในปัจจุบันได้มีการทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้นในงานกราฟิกทั้งการแก้ไขงาน การสั่งพิมพ์งาน รวมทั้งการพกพาต่างๆ 





ความหมายเกี่ยวกับกราฟฟิก
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)





คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-กราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
-กราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ






ประเภทของภาพกราฟิก    
   ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 2 ประเภท คือ
    ภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่ เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ที่เรียกว่า พิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้น การกำหนดจำนวนพิกเซลจึงควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่จะสร้าง เช่น งานที่มีความละเอียดน้อย หรือภาพสำหรับเว็บไซต์ ควรกำหนดจำนวนพิกเซล ประมาณ 72 ppi (pixel / inch คือ จำนวนพิกเซลใน 1 ตารางนิ้ว) แต่ถ้าเป็นงานแบบพิมพ์ เช่น นิตยสาร ปกหนังสือ โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดประมาณ 300 – 350 ppi เป็นต้น ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือ สามารถปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ Photoshop, Paint เป็นต้น ภาพกราฟิกแบบ Raster ที่ขยายใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยม
       2.2 ภาพกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบรถยนต์ การออกแบบอาคาร การสร้างการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ Vector คือ โปรแกรม Illustrator, CorrelDraw, 3Ds Max แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ จะเป็นการแสดงผลภาพแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector ที่ขยายใหญ่ขึ้น ความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง
                                                
http://intreelek2.blogspot.com/2007/09/blog-post_1543.html




หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟฟิก
                   ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง(Red) สีเขียว(Green) และสีน้ำเงิน(Blue) โดยใช้หลักการยิงประจะไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง3 มาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ เรียกว่า พิกเซล(Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบRaster และแบบVector

หลักการทำงานของกราฟฟิกแบบRaster
        หลักการทำงานแบบRaster หรือแบบBitmap เป็นภาพกราฟฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดพิกเซล ในการสร้างกราฟฟิกแบบRaster จะต้องกำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการจะสร้าง การกำหนดพิกเซลควรกำหนดให้เหมาะกับงาน คือ ถ้าต้องการใช้งานทั่วๆไปควรกำหนดอยู่ที่ 100 – 150 ppi (pixel/inch) “จำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว ข้อดีของกราฟฟิกแบบRaster คือ สามารถแก้ไขปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม
ภาพกราฟฟิกแบบRasterที่ขยายให้ใหญ่ขึ้น


 หลักการทำงานของกราฟฟิกแบบVector
            ภาพกราฟฟิกแบบVector เป็นภาพกราฟฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือ หารคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เล้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพ ความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าแบบRaster ภาพกราฟฟิกแบบVector นิยมใช้ในงานสถาปัตย์ ตกแต่งภายในและการออกแบบต่างๆ เช่น การออกแบบอาคาร ออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน เป็นต้น โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างภาพแบบVector คือ AutoCAD , illustrator เป็นต้น
ภาพกราฟฟิกแบบVector ที่ขยายใหญ่ขึ้น
ข้อแตกต่างระหว่างภาพกราฟฟิกแบบRaster กับ แบบVector

ภาพกราฟฟิกแบบRaster
ภาพกราฟฟิกแบบVector
1. ภาพกราฟิกเกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี (Pixels) มาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรูปภาพ
1. ภาพเกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณ โดยองค์ประกอบของภาพมีอิสระต่อกัน
2. การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้ความละเอียดของภาพลดลง ทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
2. การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพยังคงความละเอียดคมชัดเหมือนเดิม
3. การตกแต่งและแก้ไขภาพ สามารถทำได้ง่ายและสวยงาม เช่น การ  Retouching ภาพคนแก่ให้หนุ่มขึ้น การปรับสีผิวกายให้ขาวเนียนขึ้น เป็นต้น

3. เหมาะกับงานออกแบบต่าง ๆ เช่น งานสถาปัตย์
ออกแบบโลโก เป็นต้น

4. การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว
4. การประมวลผลภาพจะใช้เวลานาน  เนื่องจากใช้คำสั่งในการทำงานมาก


6. สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก
สำหรับสีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก มีรูปแบบการให้แสงและการสะท้อนแสงซึ่งมี2 วิธีคือ
ระบบสี Additiveและ ระบบสี Subtractive สี
        จากจอภาพของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์สร้างสีโดยการ เปล่งแสงออกมาจากหลอดภาพโดยตรงและใช้ระบบสี RGB ดังนั้น ถ้าเรามองไปที่จอคอมพิวเตอร์ ใกล้มากๆในขณะที่เปิดอยู่จะเห็นจอคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยจุดเล็กๆของสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน 

      คอมพิวเตอร์สามารถควบคุมปริมาณของแสงที่เปล่งออกมาในแต่ละจุดสี โดยการรวมค่าที่แตกต่างกันของ RGB เพื่อใช้ในการสร้างสี เนื่องจากว่าจุดนั้นเล็กเกินที่จะเห็นแต่ละจุดแยกกันตาของเราจึงมองเห็นการรวมกันของสีทั้ง 3 เป็นค่าเดียว เช่น ถ้าคอมพิวเตอร์เปิดอยู่และมีทั้ง 3 สี ตาของเรา จะเห็นรวมกันเป็นสีขาว ถ้ามีเพียงบางจุดที่เปิดอยู่ ไม่ได้เปิดสีพร้อมกันทั้งหมด  ตาของเราจะเห็นเป็นสีผสมต่างๆ กันมากมาย

      ระบบสี RGB เป็นระบบที่ใช้กันทั่วไปในจอคอมพิวเตอร์ระบบนี้เป็นระบบที่ทำงานได้ดีและมองดูเป็นธรรมชาติ และเนื่องจากว่าฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์มีผลต่อการทำงานเกี่ยวกับสี บางครั้งระบบ RGB ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะสีที่ปรากฏในจอคอมพิวเตอร์เมื่อทำการสั่งพิมพ์ออกมาจะทำให้สีมีการผิดเพี้ยนเกิดขึ้น เนื่องจากระบบการพิมพ์ใช้ระบบ CMYK

      การแปลงจากระบบ RGB ไปเป็นระบบ CMYK มีปัญหาที่ควรระวัง คือ การที่สีเปลี่ยนจากสีหนึ่งไปเป็นอีกสีหนึ่ง ให้ระลึกเสมอว่าระบบ RGB ต้นกำเนิดมาจากการเปล่งแสง แต่ระบบ CMYK ต้นกำเนิดมาจากการสะท้อนแสงซึ่งธรรมชาติการกำเนิดแสงต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่ระบบคอมพิวเตอร์ก่อนพิมพ์จะทำหน้าที่เปลี่ยนไฟล์RGB เป็นไฟล์ CMYK สำหรับการพิมพ์ ตามที่เราต้องการ

      ปัจจุบันมีซอฟแวร์ที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ทำงานโดยตรงกับสี CMYK ซึ่งเป็นข้อดีของกราฟิกแบบบิตแมป ในขณะที่โปรแกรมกราฟิกแบบเวกเตอร์มีความสามารถด้านหนึ่งแต่กราฟิกแบบบิตแมปก็มีความสามารถอีกด้านหนึ่ง คือมีการให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับสี และควบคุมลักษณะภาพที่จะปรากฏในขณะพิมพ์
                                                                                   


ชนิดและรูปแบบของไฟล์กราฟฟิกที่เป็นรูปภาพ
1.             . ไฟล์ GIF (CompuServe Graphics Interchange Format) มีนามสกุลเป็น .GIF เป็นไฟล์ชนิดบิดแมต สามารถนำมาแสดงเป็นรูปกราฟฟิกได้ในทุกระบบและเก็บรายละเอียดสีได้ไม่เกิน 8 bit มีความละเอียดของจุดสี (Pixel) สูงสุด 64,000 x 64,000 จุด ไฟล์ .GIF มีขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่มีข้อจำกัดคือ สามารถแสงดสีได้สูงสุด 256 สีเท่านั้น เว็บเพจที่มีรูปเคลื่อนไหวต่าง ๆ จะมีนามสกุล .GIF โดยนำเอาภาพต่าง ๆ เป็นเฟรมมาผ่านโปรแกรมทำภาพเคลื่อนไหวเช่น GIF animation แล้วจะได้ภาพเคลื่อนไหวตามต้องการ
2.             . ไฟล์ JPEG หรือ JPG (Joint Photographic Experts Group) มีนามสกุลเป็น .JPG ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับภาพที่มีสีสันสดใสและมีความละเอียดสูงมาก สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี ไฟล์มีขนาดเล็กมาก นิยมใช้กันมาก
3.             . ไฟล์ BMP (Bitmap) มีนามสกุล .BMP เป็นไฟล์มีขนาดใหญ่ เพราะไม่ได้รับการบีบย่อข้อมูลเหมือนกับ .GIF หรือ JPG ส่วนใหญ่จะพบในไฟล์รูปภาพของคอมพิวเตอร์ (Wall Paper)
4.             . ไฟล์ TIFF หรือ TIF (Tag Image File Format) มีนามสกุล .TIF สามารถใช้กับระบบปฎิบัติการหลายชนิด สามารถจัดเก็บเก็บภาพสี ขาวดำ และ grayscale ภาพส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่เกิดจากการสแกนรูปภาพต่าง ๆ และจะจัดเก็บเป็นไฟล์นามสกุล .TIF
5.             . ไฟล์ PNG (Portable Network Graphics) เป็นไฟล์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนไฟล์ GIF และไฟล์ JPG ในอนาคต ไฟล์ PNG สามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ
  BMP (Bitmap) เป็นไฟล์รูปภาพในรูปแบบของวินโดวส์ ซึ่งมีความเร็วสูง แต่ไม่มีการบีบขนาดข้อมูล จึงทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่
  GIF (Graphics Interchange Format) เป็นไฟล์ที่มีการบีบขนาดข้อมูล ซึ่งเล็กกว่า File BMP ถึง 10 เท่า โดยที่คุณภาพไม่ลดลง แต่สามารถทำได้เพียง 256 สีเท่านั้น ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือ
   GIF87a เป็น แบบทั่วไป
   Gif89a เป็น สามารถทำภาพเคลื่อนไหวได้
นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติพิเศษอีก 3 ประการ คือ
   Interlaced
    คือ การแสดงภาพออกเป็นช่วงๆ แทนที่จะไล่จากบนลงล่างเหมือนปกติ
   Progressive
    คือ การแสดงภาพหยาบก่อนแล้วจึงค่อยๆ ชัดขึ้น
   Transparent
    คือ การแสดงภาพโดยไม่มีพื้นฉากหลัง
  JPEG (Joint Photographic Experts Group) เป็นไฟล์รูปภาพที่ถูกบีบขนาดเหมือนกันไฟล์ GIF โดยใช้เทคนิค LOSSY ซึ่งคุณภาพของภาพจะต่ำลงมาตามขนานที่บีบ แต่ไม่จำกัดจำนวน สี มักใช้ในลักษณะของภาพถ่าย

*โดยสรุปก็คือ รูปแบบของภาพที่นิยมก็คือ .jpg กับ .gif เพราะว่าไฟล์มีขนาดเล็กมากและ .gif สามารถนำมาทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ อย่างไรก็ตามยังมีอีกรูปแบบนึงคือ .png แต่ยังมีปัญหาคือ browser บางตัวยังไม่สามารถแสดงผลได้
* หากไม่รูปว่าไฟล์ใดเป็นรูปภาพเรามีวิธีการดูคือ
1. Click ขวาที่ไฟล์ที่ต้องการดู
2. เลือกไป Click ที่ Properties
3. ให้ดูในช่อง Ms-dos Name จะมีชื่อไฟล์และนามสกุลบอก



การประยุกต์ใช้งานกราฟฟิก
1. ใช้กับงานสถาปัตย์ การออกแบบต่างๆ เช่น เคื่องจักรกล รวมไปถึงการออกแบบวงจรไฟฟ้า
2. ใช้ในงานโฆษณาต่างๆ
3. ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ
4. ใช้กับงานด้านเว็บเพจ ธุรกิจต่างๆ
5. ใช้กับงานด้าน Image Retouching เพราะสนองความต้องการของคนในการทำงานตามจินตนาการได้อย่างดี